เปลี่ยนเป็นภาษาไทย

Change to English
 หน้าหลักเว็บไซต์
  กลับหน้าหลัก

อื่น ๆ

ภาระหน้าที่

งานด้านเทคนิคภายในห้องสมุด เป็นงานที่สำคัญซึ่งกิจการห้องสมุดจะดำเนินไปได้ด้วยดีก็เพราะการปฏิบัติงานในด้านนี้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ งานเทคนิคคืองานที่จะต้องใช้วิชา-การและวิธีการ บางอย่างโดยเฉพาะในการปฏิบัติงานของห้องสมุด ก่อนที่จะให้บริการกับผู้ใช้ซึ่งหมายถึงวิธีการดำเนินงานของห้องสมุดและวิธีการจัดหาวัสดุสิ่งพิมพ์การทำบันทึกและการเก็บรักษา
 

ประเภทของงานเทคนิค
                     1.   งานด้านการจัดหา

                     2.   งานด้านการเตรียม
                     3.   งานด้านการจัดหมู่  การจัดทำรายการ
                     4.   งานซ่อมหนังสือ

             สำหรับงานเทคนิคของห้องสมุดวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงรายนั้น ได้จัดทำงานด้านเทคนิคอยู่ตลอดปี
     การศึกษาเพื่อที่จะให้บริการวัสดุ  สิ่งพิมพ์ต่างๆ แก่ผู้ใช้บริการให้ทันสมัยและเวลา  เช่นเดียวกับการซ่อม
     หนังสือที่ชำรุดก็จะทำตลอดปีการศึกษา
 
งานบริการของห้องสมุด  หมายถึง  การจัดบริการและหาวิธีการต่าง ๆ ที่จะอำนวยความสะดวกและชักจูงใจให้บุคคลมาใช้บริการ  และเพื่อศึกษาหาความรู้  ความเพลิดเพลิน  จากหนังสือพิมพ์ และโสตทัศน - วัสดุทุกประเภทที่มีอยู่ในห้องสมุดงานบริการจัดว่าเป็นหัวใจของงานห้องสมุด  เพราะเกี่ยวกับผู้ใช้โดยตรง มีส่วนสำคัญที่ทำให้นักศึกษาครู  อาจารย์  มาใช้ห้องสมุดมากขึ้น  ช่วยให้การเรียนการสอนดี
 

      งานบริการแบ่งเป็น  2  ประเภท  คือ
             1.   งานให้บริการ
             2.   งานจัดกิจกรรม
งานให้บริการ
             ห้องสมุดวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงรายได้ให้บริการแก่ครู  อาจารย์  และนักศึกษา ดังต่อไปนี้
             1.   บริการหนังสือ  สิ่งพิมพ์  โสตทัศนวัสดุ  และอินเตอร์เน็ท
             2.   บริการให้ยืม
             3.   บริการหนังสือจอง
             4.   บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า
             5.   บริการแนะนำการใช้ห้องสมุด
             6.   บริการแนะแนวและส่งเสริมการอ่าน
งานบริหาร  ธุรการ  และงานอื่น ๆ
             ห้องสมุดวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงรายเป็นสายงานที่ขึ้นตรงต่อฝ่ายวิชาการ  การบริหารงานภายใน
ห้องสมุดจะมีคณะกรรมการห้องสมุดเป็นผู้บริหารงานดังรายนามต่อไปนี้
คณะกรรมการที่ปรึกษา

     1.   ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย
     2.   ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ
     3.   ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริม
     4.   ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายกิจการนักศึกษา
 มีหน้าที่ให้นโยบาย  ให้คำปรึกษาแนะนำการดำเนินงานห้องสมุด
 
คณะกรรมการดำเนินงานห้องสมุด

     1.   ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ                     ประธาน
     2.   หัวหน้าคณะพื้นฐาน                                   กรรมการ
     3.   หัวหน้าคณะบริหารธุรกิจ                             กรรมการ
     4.   หัวหน้าคณะคหกรรม                                  กรรมการ
     5.   หัวหน้าคณะศิลปหัตถกรรม                          กรรมการ
     6.   หัวหน้างานหลักสูตรและการสอน                  กรรมการ
     7.   หัวหน้างานห้องสมุด                                  กรรมการ
     8.   ผู้ช่วยงานห้องสมุด                                    กรรมการ
     

งานธุรการ
           ด้านงานธุรการของห้องสมุด จะมีการโต้ตอบจดหมายตอบรับเอกสารต่าง ๆ การจัดซื้อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ 
โดยได้ปฏิบัติงานตามระเบียบงานสารบรรณ  งานที่จัดทำมีดังต่อไปนี้

           1.   การโต้ตอบหนังสือ ในฐานะที่ห้องสมุดเป็นหน่วยงานหนึ่งจึงจำเป็นต้องมีการติดต่อกับหน่วยงาน อื่น ๆ ทั้งภายในและภายนอก ซึ่งอาจจะเป็นบุคคลหรือสถาบัน ลักษณะของหนังสือโต้ตอบ  ได้แก่
                 1.1  หนังสือภายนอก  อาทิ จดหมายตอบขอบคุณที่ได้รับหนังสือ  สิ่งพิมพ์  จากบุคคลหรือ
                        สถาบันภายนอก  จดหมายสั่งซื้อหนังสือหรือวัสดุต่าง ๆ

                 1.2  หนังสือภายใน  อาทิ  บันทึกเสนอผู้บริหาร  เช่น  ขออนุมัติจัดซื้อหนังสือ  ครุภัณฑ์ 
                        เสนอรายงานประจำปี  หนังสือเวียนถึงครู  อาจารย์เรื่องแจ้งให้ทราบ
           2.   การจัดเก็บเอกสาร เอกสารคือหนังสือสำคัญที่จะต้องเก็บไว้เป็นหลักฐานในการดำเนินงาน เอกสารดังกล่าว ได้แก่ จดหมายโต้ตอบ หนังสือ รายงาน ภาพถ่าย แคตตาล็อก คู่มือหรือเอกสารสำคัญอื่น ๆ
โดยจัดเก็บไว้เป็นระเบียบ  เพื่อการค้นหาที่สะดวกและรวดเร็ว

           3.   การทำลายเอกสาร  เอกสารที่ไม่มีประโยชน์ต่อการดำเนินงานห้องสมุดจะต้องสำรวจเพื่อคัดเลือกออกและขออนุมัติทำลายต่อไป
 

งานสถิติและรายงาน
           การเก็บสถิติและรายงานเป็นงานบริหารอย่างหนึ่งของห้องสมุด  เพราะสถิติและรายงานเป็นเครื่อง
แสดงให้ทราบผลงาน ความเคลื่อนไหว  ความก้าวหน้าและปัญหาของห้องสมุด  เป็นการรายงานความก้าวหน้า
ของการปฏิบัติงานห้องสมุดให้แก่ผู้บริหารทราบ  การเก็บสถิติและรายงานของห้องสมุด ปฏิบัติดังนี้

           1.  การเก็บสถิติของห้องสมุด  สถิติต่างๆ ที่จัดเก็บได้แก่
                -   จำนวนผู้ใช้บริการต่อวัน

                -   จำนวนหนังสือที่มีผู้ยืมออกต่อวัน
                -   จำนวนครั้งที่ให้บริการตอบคำถาม
                -   จำนวนหนังสือที่ซ่อม
                -   จำนวนวารสารที่เป็นเล่ม
                -   รายรับ – รายจ่ายของห้องสมุด
                -   จำนวนหนังสือใหม่
                -   จำนวนผู้เข้าใช้บริการโสตทัศนวัสดุ
                -   จำนวนผู้เข้าใช้บริการอินเตอร์เน็ท
           2.   การทำรายงานของห้องสมุด
                ห้องสมุดจะจัดทำสถิติโดยนำเสนอในรูปแบบของป้ายบอกสถิติ  และเมื่อสิ้นปีการศึกษาจะจัดเป็น
รูปเล่มเสนอผู้บังคับบัญชา
      


ไปยังหัวข้อบทความ  

 Union Library Management : ULibM
Copyright 2024. All Rights Reserved.